จุดเดือดของวิกฤต ค.ศ. 1950 ของ ปัญหาราชวงศ์

การออกเสียงประชามติเดือนมีนาคม ค.ศ. 1950

  • ปอล ฟัน เซลันด์
  • ปอล-อ็องรี สปัก
  • ฌ็อง ดูวิวซารต์

รัฐบาลของไอส์เคินเห็นชอบให้จัดทำการออกเสียงประชามติระดับประเทศ เพื่อให้เป็น "การพิจารณาที่แพร่หลาย" (consultation populaire หรือ volksraadpleging) และกำหนดเป็นวันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 1950[37] นับเป็นการออกเสียงประชามติครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองเบลเยียมและมีความตั้งใจให้เป็นกรณีศึกษา การรณรงค์คะแนนเสียงเป็นไปอย่างเข้มข้นทั้งสองฝ่าย มีการหยุดชะงักในการลงคะแนนโพลลฺเล็กน้อย และมีการถกเถียงกันอยู่เป็นปกติ[38]

ผลการออกเสียงประชามติไม่ชี้ขาด ฝ่ายที่ต้องการให้กษัตริย์เลออปอลกลับมาได้ชัยชนะเพียงร้อยละ 58 ของเสียงส่วนใหญ่ในประเทศ โดยได้คะแนนนำ 7 มณฑลจากทั้งหมด 9 มณฑลในเบลเยียม แต่การลงคะแนนเสียงมีการแตกแยกในภูมิภาคอย่างมาก[38] ในแฟลนเดอส์ ออกคะแนนเสียงให้กษัตริย์เลออปอลกลับมาถึงร้อยละ 72 แต่ในเขตการเลือกตั้งกรุงบรัสเซลส์ ฝ่ายนิยมกษัตริย์เลออปอลได้คะแนนเสียงไปเพียงร้อยละ 48 ในเขตวัลลูนออกคะแนนเสียงให้ฟื้นฟูกษัตริย์เพียงร้อยละ 42[39] ผลลัพธ์ท้านสุดคิดเป็นร้อยละแบ่งตามมณฑล ได้แก่[39]

*เสียงข้างมากในเขตการเลือกตั้งแวร์วีแยส์ลงมติเห็นชอบให้กษัตริย์กลับมา **เสียงข้างมากในเขตการเลือกตั้งนามูร์ต่อต้านการกลับมาของกษัตริย์

ผลการเลือกตั้งได้ทำให้บางคนเกิดความกังวล ดังเช่น สปักมองว่าการออกคะแนนเสียงนี้จะไม่ชี้ชัดไปในทางใดทางหนึ่งและอาจทำให้เกิดการแบ่งแยกประเทศตามภูมิภาคและภาษา ในวันที่ 13 มีนาคม นายกรัฐมนตรีไอส์เคินเดินทางไปยังเพลญี-ฌ็อมเบซี เพื่อกราบทูลโน้มน้าวให้กษัตริย์เลออปอลที่ 3 สละราชบัลลังก์[40] ปอล ฟัน เซลันด์และสปัก สองอดีตนายกรัฐมนตรีพยายามเป็นตัวแทนเจรจาข้อตกลงใหม่ให้กษัตริย์เลออปอลสละราชบัลลังก์แก่พระราชโอรส[40] ในวันที่ 15 เมษายน ค.ศ. 1950 กษัตริย์เลออปอลทรงประกาศตั้งพระทัยที่จะมอบพระราชอำนาจของพระองค์เป็นการชั่วคราว[40] นักการเมืองหลายคนในพรรค PSC–CVP ตระหนักถึงผลประชามติทำให้พวกเขาสูญเสียเสียงข้างมากในรัฐสภาอันจะเป็นการบ่อนทำลายการปรองดองระดับชาติรอบองค์พระมหากษัตริย์ ตราบใดที่พันธมิตรแนวร่วมเสรีนิยมไม่เต็มใจที่ยอมรับการกลับมาของกษัตริย์[41]

กษัตริย์เลออปอลเสด็จนิวัติเบลเยียม

ประชาชนฝ่ายนิยมกษัตริย์เลออปอลในเมืองคอร์ทไรค์ มณฑลฟลานเดอร์ตะวันตก ชุมนุมสนับสนุนการกลับมาของกษัตริย์ในปีค.ศ. 1950

ในวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1950 เจ้าชายชาลส์ ผู้สำเร็จราชการทรงยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ พระองค์ตั้งพระทัยที่จะป้องกันการจัดตั้งรัฐบาลพรรค PSC-CVP ที่จะมีฟัน เซลันด์เป็นผู้นำรัฐบาล เขาเป็นผู้นิยมกษัตริย์เลออปอลอย่างแข็งขัน ซึ่งอาจจะทำให้กษัตริย์เลออปอลเสด็จกลับมาโดยไม่มีข้อแม้ใดๆ[42] การเลือกตั้งทั่วไปในเบลเยียม ค.ศ. 1950 ทำให้พรรค PSC-CVP ได้รับเสียงข้างมากทั้งในรัฐสภาและวุฒิสภา[lower-alpha 5] ทำให้กลายเป็นรัฐบาลใหม่พรรคเดียวภายใต้การนำของฌ็อง ดูวิวซารต์[42]

การดำเนินการแรกของรัฐบาลดูวิวซารต์คือการออกร่างพระราชบัญญัติเพื่อให้การ "การไร้ความสามารถในการปกครอง" ของพระมหากษัตริย์ต้องสิ้นสุดลง ในวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 1950 กษัตริย์เลออปอลที่ 3 เสด็จนิวัติเบลเยียมเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน ค.ศ. 1944 และดำรงตำแหน่งพระมหากษัตริย์ต่อไป[42]

การนัดหยุดงานทั่วประเทศและการสละราชบัลลังก์

แผ่นโลหะจารึกทื่กราซ-ฮอโลญนีใกล้เมืองลีแยฌ รำลึกเหตุการณ์ที่แรงงาน 4 คนถูกตำรวจภูธรยิงเสียชีวิตในวันที่ 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1950

ในปี ค.ศ. 1949 ขบวนการ FGTB–ABVV ได้ลงมติงบประมาณพิเศษจำนวน 10 ล้านฟรังก์เบลเยียม เพื่อจัดตั้งคณะกรรมาธิการปฏิบัติการร่วม (Comité d'action commune) ในการสนับสนุนการนัดหยุงานทั่วประเทศเพื่อต่อต้านการกลับมาของกษัตริย์ สหภาพแรงงานเป็นผู้นำในการต่อต้านในฤดูร้อน ปี ค.ศ. 1950 อังเดร เรนาร์ด ผู้นำสหภาพการค้าชาววัลลูน เรียกร้องให้มีการ "จลาจล" และ "ปฏิวัติ" ในหนังสือพิมพ์ลา วัลลูนนี (La Wallonie) ไม่นานหลังกษัตริย์เสด็จนิวัติในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1950[43] นักประวัติศาสตร์สมัยใหม่ตั้งข้อสังเกตว่า "กลิ่นอายของการปฏิวัติอยู่ในอากาศ" ซึ่งนักชาตินิยมชาววัลลูนยังมีการเรียกร้องให้มีการแยกเขตวัลลูนออกจากเบลเยียมในทันทีและสร้างสาธารณรัฐ[44]

การนัดหยุดงานทั่วประเทศในปี ค.ศ. 1950 เริ่มจากอุตสาหกรรมเหมืองถ่านหินในมณฑลแอโนและแพร่ขยายไปอย่างรวดเร็ว ในไม่ช้าคนงานก็หยุดงานทั่วเขตวัลลูน บรัสเซลส์และที่หยุดงานน้อยกว่าคือที่แฟลนเดอส์ ท่าเรือแอนต์เวิร์ปหนึ่งในสถานที่สำคัญได้รับผลกระทบและประเทศแทบจะเป็นอัมพาต[43] ในวันที่ 30 กรกฎาคม แรงงาน 4 คนถูกยิ่งเสียชีวิตโดยกองตำรวจภูธร (เบลเยียม) ที่กราซ-ฮอโลญนีใกล้เมืองลีแยฌและความรุนแรงก็ทวีมากขึ้น[45][46] ฝ่ายนิยมกษัตริย์เลออปอลในรัฐบาลเรียกร้องให้รัฐบาลมีจุดยืนที่แข็งกร้าวมากขึ้น แต่ก็พบว่าพรรคพวกของตนเป็นคนกลุ่มน้อย แม้แต่ในพรรค PSC-CVP เอง ความผิดหวังที่ไม่มีอะไรคืบหน้า รัฐบาลจึงขู่ว่าจะประกาศลาออก "ทั้งคณะ"[44]

เมื่อสถานการณ์ทวีความรุนแรงมากขึ้น สมาพันธ์นักโทษทางการเมืองแห่งชาติและผู้พึ่งพิง (Confédération nationale des prisonniers politiques et des ayants droit, Nationale Confederatie van Politieke Gevangenen en Rechthebbenden, หรือ CNPPA–NCPGR) อันเป็นองค์กรที่เป็นตัวแทนของนักโทษการเมืองที่ถูกคุมขังในช่วงที่เยอรมนียึดครอง เสนอที่จะเป็นตัวกลางการเจรจากับฝ่ายต่าง ๆ เนื่องจากองค์กรนี้เป็นที่เคารพนับถือจากทุกฝ่าย[47] องค์กร CNPPA–NCPGR ประสบความสำเร็จในการเกลี้ยกล่อมทั้งพระมหากษัตริย์และรัฐบาลให้เปิดการเจรจาอีกครั้งในวันที่ 31 กรกฎาคม ในตอนเที่ยงของวันที่ 1 สิงหาคม กษัตริย์เลออปอลทรงประกาศตั้งพระทัยที่จะสละราชบัลลังก์อย่างเป็นทางการแก่เจ้าชายโบดวง พระราชโอรส เพื่อหลีกเลี่ยวความขัดแย้งอันนองเลือด[44] เจ้าชายโบดวงทรงมีพระชนมายุ 19 พรรษา ทรงได้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ด้วยพระอิสริยยศ "พระวรราชกุมาร" (Prince Royal) ในวันที่ 11 สิงหาคม ค.ศ. 1950[48]

ใกล้เคียง

ปัญหา ปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย ปัญหาวิถีสั้นสุด ปัญหาราชวงศ์ ปัญหาปี ค.ศ. 2000 ปัญหาการแต่งงานที่มีเสถียรภาพ ปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศอัฟกานิสถาน ปัญหาสกันทอร์ป ปัญหาวันเกิด ปัญหารางวัลมิลเลนเนียม

แหล่งที่มา

WikiPedia: ปัญหาราชวงศ์ http://www.levif.be/info/actualite/belgique/leopol... http://www.rtbf.be/info/belgique/detail_julien-lah... http://www.winstonchurchill.org/support?catid=0&id... //www.worldcat.org/oclc/307971 //www.worldcat.org/oclc/466179092 //www.worldcat.org/oclc/5357114 //www.worldcat.org/oclc/644400689 https://www.demorgen.be/nieuws/zaait-nu-zelfs-de-k... https://newspaperarchive.com/other-articles-clippi... https://www.youtube.com/watch?v=8UiXj-xOlys